ตะกร้าสินค้า 0
สินค้าทุกชิ้นพร้อมส่ง สามารถส่ง Grab หรือไลน์แมนได้ ใน กทม.และใกล้เคียง หรือมารับเองที่ หลักสี่

อธิบายอุปกรณ์หลัก และส่วนผสมหลักในการใช้ทำเบเกอร์รี่

บทความนี้สร้างเมื่อ

อุปกรณ์ต่างๆ

1. เครื่องตีไข่ไฟฟ้า

2. ตะกร้อตีไข่ด้วยมือ

3. พายยาง

4. ที่ปาดเนย (Spatula)

5. อ่างผสม

6. พิมพ์อบเค้ก, ถาดอบคุ้กกี้

7. กระดาษไข

8. หัวบีบคุกกี้และถุงบีบ

9. แปรงทาเนย

10. ชุดถ้วยตวงมาตรฐานเฉพาะของแห้ง

11. ชุดช้อนตวงมาตรฐาน

12. ถ้วยตวงของเหลว

 

 

ส่วนผสมหลักในการทํา

1. แป้งสาลี แป้งสาลีมีด้วยกันหลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อก็นําไปใช้แตกต่างกัน เช่น การทําเค้กจะใช้แป้งสาลีโปรตีนต่ํา เพื่อให้เนื้อเค้กมีความเบาฟู อย่างเค้กจําพวกสปองจ์เค้ก ชิฟฟอนเค้ก แป้งสาลี โปรตีนปานกลางจะทําพาย พัฟฟ์ เพื่อให้เนื้อแป้งมีความเหนียว เล็กน้อยหรือกรอบร่วน แป้งสาลีโปรตีนค่อนข้างสูงจะทําคุกกี้ เพื่อให้เนื้อมีความกรอบร่วนแบบนุ่มๆ และแป้งสาลีโปรตีนสูงมากๆ นิยมเพื่อให้ได้แป้งที่มีเส้นใยโครงสร้างจับตัวกัน เนื้อขนมปังจึงจะเหนียวและนุ่ม แป้งแต่ละชนิดถ้าซื้อตามซูเปอร์มาร์เก็ต จะเขียนระบุไว้ข้างถุง แต่ถ้าเป็นแป้งชนิดตักให้ถามจากผู้ขาย

2. น้ําตาล น้ําตาลในการทําเค้ก คุกกี้ มีหลายชนิด เช่น ตาลทรายขาว น้ําตาลทรายแดง น้ําตาลไอซิ่ง การใช้น้ําตาลแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับการผสม เช่น การคนด้วยตะกร้อมือควรใช้น้ําตาลทรายป่น เพื่อให้น้ําตาลละลายได้ดีเป็นเนื้อเดียวกันกับเนย ถ้าใช้เครื่องตีไฟฟ้า ก็เป็นน้ําตาลทรายธรรมดาชนิดเม็ดละเอียด น้ําตาลทรายแดง หรือ น้ําตาลอ้อย ก่อนนํามาใช้ต้องร่อนให้ได้เนื้อน้ําตาลที่ละเอียดก่อน เมื่อนําไปผสมจะไม่มีเม็ดน้ําตาลก้อนสีน้ําตาลอยู่ ซึ่งจะทําให้ชิ้นขนมไม่สวยและเห็นเป็นจุดสีน้ําตาลในชิ้นขนม

3. ผงฟู เป็นสารเสริมที่ช่วยให้ขนมมีความฟูนุ่ม นอกจากการตีให้ขึ้นฟู ผงฟูต้องเลือกใช้ชนิดทํางาน 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกทํางานระหว่างการผสม และครั้งที่สองทํางานในขณะที่ขนมกําลังจะสุก

4. เบกกิ้งโซดา เป็นสารเสริมอีกชนิดหนึ่งที่ใส่ในส่วนผสมที่มี ส่วนผสมของของหนักและมีน้ําตาลในตัว เช่น ผงโกโก้ เนื้อกล้วยหอม

    5. ไข่ไก่ มีทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ในการทําเค้กและคุกกี้มักใช้ไข่ไก่ขนาดกลาง แต่ถ้ามีไข่ไก่ขนาดเล็กก็ให้เพิ่มอีก 1 ฟอง เช่น ในตํารับใช้ไข่ไก่ 3 ฟองขนาดกลาง ถ้าเป็นฟองเล็กก็ใช้เป็น 4 ฟอง ถ้าฟองใหญ่ใช้ 2 ฟอง และต้องเป็นไข่ใหม่จึงจะมีความข้นหนืดสูง ไข่เก่าจะมีน้ํามาก ไข่ใหม่สังเกตได้โดยจะมีนวลที่เปลือกไข่ ผิวเปลือก จับแล้วขรุขระ ถ้าส่องกับแสงจะเห็นโพรงอากาศเล็กน้อย
      6. เนย มีทั้งเนยสด เนยเทียมหรือมาการีน และเนยขาว เนยสด ทําจากน้ํานมวัวเข้มข้น สีเหลืองอ่อน จึงต้องแช่เย็น ก่อนใช้ต้องทิ้ง ให้อ่อนตัวเล็กน้อยจึงจะผสมเข้ากันได้ดี ส่วนมาการีนมีสีเหลืองเข้มเกือบส้ม เก็บในอุณหภูมิปกติได้โดยไม่ละลาย จึงไม่ต้องแช่ตู้เย็น เนยขาวมีสีขาวตามชื่อเรียก นํามาทาถาดพิมพ์สําหรับอบกันขนมติดพิมพ์ หรือผสมกับเนยสดเพื่อตีเป็นครีมแต่งหน้าเค้กก็ได้
        7. นม ที่นิยมใช้เป็นนมสด หรือนํานมข้นจืดมาผสมกับน้ําเปล่า ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 คือนมข้นจืด 1 ส่วนผสมกับน้ํา 1 ส่วนให้ได้ ตามจํานวนที่ต้องการ


          โพสต์ก่อนหน้า โพสต์ใหม่กว่า